ลูกไม่คลาน......พัฒนาการข้ามขั้นที่อาจส่งผลต่อการวางแผนเคลื่อนไหวของลูก

ลูกไม่คลาน......พัฒนาการข้ามขั้นที่อาจส่งผลต่อการวางแผนเคลื่อนไหวของลูก - Bebeshop

โดยทั่วไปเด็กจะเริ่มตั้งคลานที่ช่วงอายุ6-10เดือน แต่ในเด็กบางคนจะข้ามพัฒนาการในช่วงนี้ไปเป็นยืน และเดินเลยโดยที่ไม่ตั้งคลาน

การคลานสำคัญอย่างไร

  • พัฒนาการด้านร่างกาย : การคลานจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงซึ่งมีผลต่อการทรงตัว อีกทั้งในขณะที่เด็กกำลังขยับแขนขาในการคลานยังเป็นการฝึกสหสัมพันธ์การเคลื่องไหวของร่างกายซึงเป็นพื้นฐานของการเขียนหนังสือ และการเล่นกีฬา
  • พัฒนาการของสมอง : เป็นการฝึกการทำงานของสมองทั้งสองซีก เพราะการคลานต้องอาศัยการเคลื่อนไหวของร่างกายร่วมกันทั้ง2ด้าน
  • พัฒนาการด้านการคิดแก้ปัญหา : การคลานจะช่วยฝึกให้เด็กสามารถวางแผนการเคลื่อนไหวว่าจะต้องเคลื่อนไหวอย่างไรเพื่อหลบสิ่งกีดขวาง ไม่ให้ชนสิ่งกีดขวาง ฝึกการกะแรง กะระยะ
  • ฝึกการใช้สายตา : ในขณะที่เด็กคลานหากคุณพ่อคุณแม่ช่วยกระตุ้นโดยการนำของเล่นมาเป็นเป้าหมายในการให้เด็กคลานเข้าไปหา ก็จะเป็นการช่วยฝึกการมองและการใช้สายตาซึ่งเป็นพื้นฐานในการรับ-ส่งบอล การเขียนลอกงานบนกระดาน

ถ้าเด็กไม่คลานจะส่งผลอย่างไร          

ส่วนใหญ่หากเด็กข้ามพัฒนาการด้านการคลาน เด็กมักจะไม่ได้ฝึกการลงน้ำหนักที่เข่าและมือ ส่งผลให้เด็กมักจะมีปัญหาการวางแผนเคลื่อนไหว เช่น ไม่สามารถปั่นจักรยานได้ เดินแล้วล้มบ่อย ชนของบ่อย

เทคนิคกระตุ้นการคลาน

  • ลดการอุ้ม : เด็กส่วนใหญ่ที่คุณพ่อคุณแม่คอยอุ้มตลอดเวลามักจะขาดโอกาสในการเคลื่อนไหว ฉะนั้นหากอยากกระตุ้นการคลาน ควรให้เด็กได้ลองคลานโดยคุณพ่อคุณแม่อาจช่วยจัดท่าเตรียมคลานให้เด็กอยู่ในท่านั่ง หรือนอนคว่ำ สามารถฝึกบนแผ่นรองคลานได้เลยค่ะ
  • หาแรงกระตุ้นในการคลาน : คุณพ่อคุณแม่อาจมีส่วนร่วมในการช่วยกระตุ้นได้โดยอาจจะให้คุณพ่อเป็นคู่แข่งในการคลาน คุณแม่ถือของเล่นที่น้องชอบไว้ด้านหน้าแล้วให้คุณพ่อกับคุณลูกแข่งกันคลานว่าใครจะไปถึงก่อนกัน
  • กิจกรรมที่ท้าทายมากขึ้น : เมื่อเด็กเริ่มคลานได้คล่องแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจเพิ่มความท้าทาย เช่น ให้เด็กคลานลอดอุโมงค์ หรือให้เด็กคลานข้ามหมอนข้าง
  • หมั่นฝึกการลงน้ำหนักที่เข่าและมือ :
  • ลงน้ำหนักที่เข่า : ให้เด็กลองฝึกยืนเข่า โดยคุณพ่อคุณแม่อาจช่วยประคองอยู่ด้านหลัง ด้านหน้าอาจจะมีกระจกให้เด็กฝึกเล่นมองตัวเอง หรือใช้ของเล่นให้เด็กฝึกเอื้อมหยิบก็ได้ค่ะ
  • ลงน้ำหนักที่มือ : จัดให้เด็กอยู่ในท่าตั้งคลาน วางมือทั้งสองข้างลงบนพื้น แขนเหยียด ยกลำตัวให้สูงขึ้นค้างไว้5-10วินาที
  • ช่วยกระตุ้นการคลาน : คุณพ่อคุณแม่อาจจะช่วยขยับแขนขาเพื่อให้ลูกรู้ว่าเวลาคลานต้องขยับแขนขาอย่างไร

RELATED ARTICLES

ทิ้งข้อความไว้

ที่อยู่อีเมลของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่ ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย*