ปัญหาการรับรู้ทางสายตา(Visual perception)มีผลทำให้ลูกเขียนหนังสือไม่ได้

ปัญหาการรับรู้ทางสายตา(Visual perception)มีผลทำให้ลูกเขียนหนังสือไม่ได้ - Bebeshop

   ในช่วงเปิดเทอมแบบนี้ ไม่ว่าจะเรียนแบบออนไลน์หรือออนไซด์ เวลาทำการบ้านหรือกิจกรรมการเขียน คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยเจอปัญหาการเขียนของลูก ไม่ว่าจะเป็นเขียนสับสนหัวเข้า-หัวออก การเว้นวรรค การเขียนประสมคำที่มีสระวรรณยุกต์แล้ววางตำแหน่งสระหรือวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง สับสนเมื่อเห็นตัวอักษรที่คล้ายกัน เช่น ด-ค

   ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากการรับรู้ทางสายตา(Visual perception) และนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเขียนทั้งความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนิ้วมือ การทรงตัว และความมั่นคงของข้อไหล่

ปัจจัยที่มีผลต่อการเขียน

  • การรับรู้ทางสายตา(Visual perception) คืออะไร

การรับรู้ทางสายตา คือ การประมวลผลข้อมูลจากสิ่งที่มองเห็นเพื่อแปรผลและสื่อความหมาย

ปัญหาการรับรู้ทางสายตาอะไรบ้างที่มีผลต่อการเขียนของลูก

  • ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งและทิศทาง(Position in space) : เด็กทีมีความบกพร่องในด้านนี้มักจะสับสนหัวของตัวอักษร(หัวเข้า-หัวออก) ทิศทางของตัวอักษร(ซ้าย-ขวา) เช่น ภ-ถ d-b เติมสระหรือวรรณยุกต์ผิดตำแหน่ง
  • ความสัมพันธ์ระหว่างช่องว่าง/ระยะห่างระหว่างวัตถุ(Spatial relation) : เด็กที่มีความบกพร่องในด้านนี้มักมีปัญหาการเขียนเว้นวรรค เขียนตกหล่น หรือเวลาสะกดคำเขียนเรียงไม่ถูก เช่น ทหาร เขียนเป็น รหาท
  • ความสามารถในการมองเห็นภาพให้สมบูรณ์(Visual closure) : เมื่อเห็นภาพแค่เพียงเฉพาะบางส่วน สามารถบอกได้ว่าคืออะไร หากเด็กมีความบกพร่องในด้านนี้ จะไม่สามารถเติมคำในช่องว่างได้ เช่น ข้_ว
  • การเคลื่อนไหวประสานกันระหว่างตาและมือ(Eye-hand coordination) : เด็กมักจะไม่สามารถควบคุมการเขียนตัวอักษรให้พอดีกับบรรทัดได้ เขียนตัวใหญ่หรือเล็กมากเกินไป ไม่สามารถเขียนตามเส้นประได้ ลอกงานบนกระดานได้ช้า
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนิ้วมือ(Fine motor skill) : กล้ามเนื้อนิ้วมือมีความสำคัญต่อการเขียนเป็นอย่างมาก หากเด็กไม่สามารถจับดินสอได้ถูกต้อง ล้าง่ายระหว่างเขียน หรือไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อมือในการเขียนได้ก็จะส่งผลให้เด็กเขียนหนังสือได้ลำบาก ทำงานเสร็จไม่ทันเพื่อน เด็กก็จะต่อต้านการเขียนหนังสือ
  • การควบคุมการทรงตัว(Trunk control) : หากเด็กมีกล้ามเนื้อทรงตัวที่ดีก็จะส่งเสริมการเคลื่อนไหวมือและแขนทั้งสองข้างอย่างเป็นอิสระ แต่หากเด็กบกพร่องในด้านนี้เด็กจะไม่สามารถทรงตัวในท่านั่งได้ หลังงอ ตัวเอียง ส่งผลให้เขียนหนังสือได้ลำบาก
  • ความมั่นคงของข้อไหล่(Proximal joint stability) : หากเด็กมีปัญหาข้อไหล่หลวมจะส่งผลทำให้เกิดความยากลำบากต่อการควบคุมกล้ามเนื้อมือ

 

 

กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะการเขียน

  • การรับรู้ทางสายตา(Visual perception)

- ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งและทิศทาง (Position in space): ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะนี้ เช่น เลือกภาพที่มีทิศทางเหมือนภาพที่กำหนด

- ความสัมพันธ์ระหว่างช่องว่าง/ระยะห่างระหว่างวัตถุ (Spatial relation): ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะนี้ เช่น จัดของตามตำแหน่งที่บอก เช่น เอาแก้ววางด้านหน้ากล่อง เอาขวดน้ำวางด้านซ้ายของตะกร้า

- ความสามารถในการมองเห็นภาพให้สมบูรณ์ (Visual closure): ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะนี้ เช่น ต่อจิ๊กซอว์

  • การเคลื่อนไหวประสานกันระหว่างตาและมือ(Eye-hand coordination)ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะนี้ เช่น  ร้อยลูกปัด
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนิ้วมือ(Fine motor skill) ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะนี้ เช่น ปั้นดินน้ำมัน
  •  การควบคุมการทรงตัว(Trunk control) ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะนี้ เช่นSlider
  • ความมั่นคงของข้อไหล่(Proximal joint stability)ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะนี้ เช่น  กีฬาต่างๆเช่น บาสเกตบอล แบตมินตัน

RELATED ARTICLES

ทิ้งข้อความไว้

ที่อยู่อีเมลของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่ ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย*