SIหรือSensory integration คืออะไร

SIหรือSensory integration คืออะไร - Bebeshop

มารู้จักความหมายและความสำคัญของSIหรือSensory integration ต่อพัฒนาการของลูกกันค่ะ

SIหรือSensory integration คืออะไร

   เป็นกระบวนการทำงานของระบบประสาทในการจัดระเบียบ คัดกรองสิ่งต่างๆที่มากระตุ้นร่างกายผ่านระบบประสาทรับความรู้สึกและสั่งให้ร่างกายแสดงออกมาในรูปแบบของพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ

   ระบบบูรณาการประสาทการรับความรู้สึก อธิบายง่ายๆคือ ปกติเราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าระบบประสาทรับสัมผัสของร่างกายทั้ง5มี การสัมผัส การมองเห็น การได้กลิ่น การได้ยิน และการรับรส แต่จริงๆแล้วยังมีอีก2ประสาทสัมผัสของร่างกาย คือ การเคลื่อนไหวและการทรงตัวและการรับรู้กล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ

   มีผลการวิจัยพบว่า หากเรามีระบบบูรณาการประสาทรับความรู้สึกที่ดี จะส่งผลทำให้มีพัฒนาการทางการเคลื่อนไหวที่ดี อีกทั้งยังส่งผลต่อพัฒนาการทุกด้านทั้งทางด้านอารมณ์ พฤติกรรม การเข้าสังคมและภาษา

 

เด็กที่มีปัญหาSIเป็นอย่างไร

ในเด็กบางคน สมองมีการแปลและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับผ่านระบบประสาทรับความรู้สึกผิดพลาด ก่อให้เกิดความไม่สมดุลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและพัฒนาการต่างๆ โดยอาจแสดงพฤติกรรมออกมา ได้ดังนี้

  • ภาวะแสวงหามากเกินไป (Seeking)
  • ภาวะหลีกหนีเกินไป(Avoidance)

 

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีปัญหาSI

  • การเคลื่อนไหว : ชอบสะบัดมือ ชอบเล่นกระแทกแรงๆ ไม่นิ่ง
  • หลีกหนีสัมผัสบางอย่าง : กลัวเสียงดัง กลัวผิวสัมผัสบางชนิด ไม่ชอบให้ตัวเองมือเลอะ ไม่ชอบให้กอดหอม
  • การวางแผนการเคลื่อนไหว : ทำอะไรช้า งุ่มง่าม ดูเก้งก้างเวลาเคลื่อนไหว
  • ความรู้สึกเฉื่อยมากเกินไป : ดูซึมๆนิ่งๆ ดูง่วงนอนตลอดเวลา
  • ไวต่อสิ่งที่มากระตุ้น : อ้วกง่ายเมื่อได้กลิ่นแปลกๆ ตื่นตระหนกง่ายต่อระดับความดังเสียงปกติ

อาการเหล่านี้มักพบในเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นและออทิสติก

 

ทำไมSIจึงมีความสำคัญต่อเด็ก

วัยเด็กถือเป็นช่วงวัยที่สำคัญ หากในช่วงวัยเด็กมีการบูรณาการของระบบประสาทการรับความรู้สึกที่ดีแล้ว จะส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว การเรียนรู้ และการเข้าสังคมได้อย่างเหมาะสมตามวัย ดังนี้

  • เด็กสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ เช่น การทำกิจวัตรประจำวัน การเรียน
  • เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ และปรับสภาพอารมณ์ต่อสถานการณ์ต่างๆได้
  • เด็กสามารถมีทักษะทางสังคม สามารถปรับตัวเข้าสังคมได้

ตัวอย่างกิจกรรมที่กระตุ้นSIที่สามารถทำได้ง่ายๆที่บ้าน

เราสามารถกระตุ้นSIให้ลูกในแต่ละช่วงวัยได้อย่างไรบ้าง

 

RELATED ARTICLES