มารู้จักภาวะหลีกหนีการสัมผัส (Tactile defensiveness) 1ในปัญหาSI

มารู้จักภาวะหลีกหนีการสัมผัส (Tactile defensiveness) 1ในปัญหาSI - Bebeshop

คุณพ่อคุณแม่ เคยเจอปัญหาเหล่านี้หรือไม่???

- ลูกไม่ชอบให้คนอื่นมาอยู่ใกล้ๆ

- ไม่ชอบการเดินบนพื้นทราย พื้นหญ้า

- ไม่ชอบให้มือเลอะ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้มือเลอะ

- รำคาญตะเข็บหรือป้ายยี่ห้อตรงคอเสื้อ

- ไม่ชอบทาโลชั่น ไม่ชอบหวีผม แปรงฟัน

 

   

 

   ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากการที่ลูกมีภาวะหลีกหนีการสัมผัส (Tactile defensiveness) ซึ่งสิ่งที่จะช่วยลดภาวะเหล่านี้คือการให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรับสัมผัส เช่น การเล่นทราย ปั้นดินน้ำมัน ระบายสีน้ำ ปลูกต้นไม้ หรือแม้แต่การกอดหอมก็เป็นอีกสิ่งที่ช่วยลดภาวะดังกล่าว

 

   

   สิ่งที่สำคัญในการฝึกคือต้องฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป หากิจกรรมที่ลูกชอบทำก่อน เน้นให้ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ถ้าช่วงแรกลูกไม่ยอมหรือต่อต้าน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรดุลูกเพราะไม่อย่างนั้นเด็กจะยิ่งต่อต้าน

 

   

 

    ตัวอย่างเทคนิคสำหรับลูกที่ไม่ชอบทาโลชั่น เริ่มแรกหากิจกรรมที่ลูกชอบ เช่น ลูกชอบเล่นรถ คุณพ่อคุณแม่อาจลองแตะโลชั่นลงบนรถแล้วให้ลูกลองสัมผัสโลชั่นแล้วมาแตะที่มือของตัวเองหรือมือของคุณพ่อคุณแม่ เวลาทาอาจจะช่วยกันนับ1-10หรือร้องเพลงไปด้วยกันอย่างสนุกสนาน เมื่อลูกสามารถทำได้อาจให้คำชมหรือรางวัลแก่ลูกค่ะ

 

   

   ระบบการรับสัมผัสเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็กเป็นอย่างมากค่ะ การรับสัมผัสที่ดีและหลากหลายทำให้ลูกเกิดการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพ มีระดับการตื่นตัวที่เหมาะสม แต่หากลูกไม่ได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม

   ระบบประสาทการรับสัมผัสก็จะไม่สมดุล ทำให้เกิดภาวะต่างๆไม่ว่าจะเป็น การตอบสนองต่อการสัมผัสที่มากเกินไป(Sensory over responsivity)ซึ่งส่งผลทำให้เกิดภาวะหลีกหนีการสัมผัส (Tactile defensiveness) ที่ได้เล่าไปในข้างต้น ภาวะอื่นๆที่อาจพบได้หากระบบการรับสัมผัสไม่สมดุลได้แก่การตอบสนองที่น้อยเกินไป(Sensory under responsivity) และการแสวงหาการรับความรู้สึก(Sensory seeking) ซึ่งในบทความหน้าจะมาเล่าถึงภาวะต่างๆเหล่านี้กันค่ะ

RELATED ARTICLES