คุณพ่อคุณแม่ที่ดึงแขนลูกบ่อยๆหรือจับแขนลูกเหวี่ยงเป็นชิงช้าต้องระวัง ลูกอาจเกิดกระดูกข้อศอกเคลื่อนได้
กระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็กคืออะไร
- อาการบาดเจ็บเล็กน้อยที่พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ( พบได้ตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี ) เกิดขึ้นจากการดึงแขน ขณะที่เหยียดข้อศอก และ คว่ำมือ ทำให้หัวกระดูกแขนส่วนล่าง(Radius)หลุดออกจากเส้นเอ็นที่ยึดไว้
- อาจมีชื่อเรียก หลายอย่าง เช่น Pulled elbow ,slipped elbow, toddler elbow, nursemaid's elbow or radial head subluxation.
สาเหตุของการเกิดกระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็ก
- ดึงแขนส่วนล่างของลูกอย่างแรง
- เล่นอุ้มเด็กเหวี่ยงแบบชิงช้า
อาการ
- ลูกหลีกเลี่ยงการขยับแขน
- ลูกร้องไห้เจ็บปวดจากการถูกดึงแขน
- แขนของลูกจะอยูในลักษณะหุบเข้าหาลำตัว ข้อศอกงอเล็กน้อย
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนพบแพทย์
- ประคบเย็น
- อย่าขยับบริเวณข้อศอกให้ลูกเอง
- ดูแลส่วนที่เจ็บให้อยู่นิ่งมากที่สุด
แนวทางรักษา
- แพทย์จะดึงหัวกระดูกแขนส่วนล่าง(Radius)ให้เข้าที่ ส่วนใหญ่ไม่ต้องใช้ยาชา หรือ ยาสลบ เด็กจะรู้สึกเจ็บมากขณะดึง แต่ถ้า ดึงกระดูกเข้าที่แล้ว ก็จะหายเจ็บ และ ขยับข้อศอก ขยับมือได้เหมือนปกติ หลังจากดึงแล้วหากเด็กยังไม่ยอมเหยียดข้อศอก ไม่ยอมใช้มือ แพทย์อาจส่งเอกซเรย์เพิ่มเติม เพื่อดูว่า กระดูกผิดปกติหรือไม่ แต่ถ้าดึงแล้ว เด็กหายเจ็บ และขยับข้อศอก ข้อมือได้ปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ ไม่จำเป็นต้องใช้ยา หรือ ผ้าคล้องแขน
วิธีการป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการดึงแขน
- ไม่เล่นเหวี่ยงแบบชิงช้า
- หากต้องการอุ้มลูก ควรช้อนบริเวณใต้รักแร้หรือจับบริเวณแขนท่อนบนแทน
อ้างอิงจาก
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=09-2008&date=15&group=6&gblog=21
https://www.parentsone.com/pulled-elbow-in-kids/